038-611192 086/13 ถ. ตากสินมหาราช ต. ท่าประดู่ อ. เมืองระยอง จ. ระยอง 21000

ประวัติวิทยาลัยเทคนิคระยอง


สถานที่ตั้ง วิทยาลัยเทคนิคระยอง

ตั้งอยู่เลขที่ 086/13 ถนนตากสินมหาราช
ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000
โทรศัพท์ 038-611-160, 038-611-192 โทรสาร 038-870-717
มีพื้นที่ 76 ไร่ 2 งาน 17 ตารางวา

ประวัติความเป็นมา

          เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2481 กรมอาชีวศึกษากรมอาชีวศึกษาร่วมกับจังหวัดระยองได้จัดตั้ง “โรงเรียนช่างไม้ระยอง” ขึ้นโดยอาศัยศาลาการเปรียญของวัดเก๋ง ซึ่งเป็นวัดร้าง (ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลระยอง) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ต่อมาได้รับบริจาคที่ดินจำนวน 5 ไร่ จาก นายเหลียง เปี่ยมพงศ์สานต์ และจัดตั้งเป็นสถานศึกษาอันเป็นตำบลที่ตั้งของวิทยาลัยเทคนิคระยองในปัจจุบัน
          ความเป็นมา ในปีพ.ศ.2501 ได้ซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นอีก 5 ไร่ ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการช่างไม้ระยอง” เมื่อ พ. ศ. 2509 กระทรวงศึกษาธิการประกาศรวม “โรงเรียนการช่างไม้ระยอง” และ “โรงเรียนการช่างสตรีระยอง” เป็นโรงเรียนเดียวกัน ให้ชื่อว่า “โรงเรียนการช่างระยอง” และได้รับอนุมัติให้ชื่อเป็น “โรงเรียนเทคนิคระยอง” เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2520 ต่อมาได้รับการยกฐานะจากโรงเรียนเป็นวิทยาลัยโดยให้ชื่อเป็น “วิทยาลัยเทคนิคระยอง” ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2523 จนถึงปัจจุบัน

การจัดการศึกษา

พ.ศ.2481 เปิดการสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นต้น หลักสูตร 3 ปี รับผู้จบประโยคประถมศึกษา(ป.4) เข้าเรียนแผนกช่างไม้ และมีนักเรียนรุ่นแรก 34 คน
พ.ศ.2485 เปิดสอนแผนกช่างตัดผม หลักสูตร 2 ปี แล้วยุบไป เพราะไม่มีนักเรียนสมัครเข้าเรียน
พ.ศ.2492 เปิดสอนแผนกช่างตัดผมครั้งที่ 2 และขยายห้องเรียนแผนกช่างไม้ ปีที่ 1 เพิ่มเป็น 3 ห้องเรียน
พ.ศ.2493 ยุบแผนกช่างตัดผมเป็นครั้งที่ 2
พ.ศ.2496 ขยายการศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รับผู้จบชั้นมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นและรับผู้จบชั้นมัธยมปีที่ 3 สายสามัญ หลักสูตร 3 ปี แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง
พ.ศ.2500 เปิดสอนระดับมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย แผนกช่างยนต์
พ.ศ.2503 เปิดสอนระดับอาชีวะชั้นสูง แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง และยุบแผนกช่างยนต์
พ.ศ.2506 เปิดสอนแผนกช่างยนต์ครั้งที่ 2 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) สายอาชีพ แผนกช่างก่อสร้าง
พ.ศ.2513 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกช่างเชื่อมโลหะแผ่น
พ.ศ.2519 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกช่างกลโรงงาน
พ.ศ.2520 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกช่างไฟฟ้า
พ.ศ.2522 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกพณิชยการ
พ.ศ.2524 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาเทคนิคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี แผนกเทคนิคปฏิบัติการ เป็นหลักสูตร 2 ปี รับผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย (มศ.5) สายวิทยาศาสตร์
พ.ศ.2527 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาการบัญชี สาขาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ และสาขาเทคนิคยานยนต์
พ.ศ.2532 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาเทคนิคเคมีอุตสาหกรรมเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ.2533 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรม
พ.ศ.2534 เปิดสอนระดับช่างชำนาญงานระบบทวิภาคี (Dual-System) ตามโครงการช่างฝึกหัดไทย-เยอรมัน สาขาวิชาธุรกิจโรงแรม
พ.ศ.2535 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม เปิดสอนระดับช่างชำนาญงานระบบทวิภาคี (Dual-System) ตามโครงการฝึกหัดไทย-เยอรมัน สาขาวิชาธุรกิจโรงแรม
พ.ศ.2537 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 7 สาขา คือ สาขาวิชาช่างเทคนิคการผลิต สาขางานเครื่องกล สาขาช่างเทคนิคโลหะการ สาขางานเทคนิคงานเชื่อมอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขางานติดตั้งและควบคุม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขางานเทคนิคการก่อสร้าง สาขาวิชาคหกรรมธุรกิจ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย
พ.ศ.2545 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์, สาขาวิชาการท่องเที่ยว
พ.ศ.2546 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
พ.ศ.2552 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, สาขาวิชาการเลขานุการ, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ, สาขาวิชาการท่องเที่ยว
พ.ศ.2553 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยาง
พ.ศ.2554 ยุบสาขาวิชาเทคโนโลยีผ้าและเครื่องแต่งกาย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
พ.ศ.2556 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาการเลขานุการ, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พ.ศ.2558 เปิดสอนระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์, สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า, สาขาวิชาการบัญชี
พ.ศ.2559 ยุบสาขาวิชาการบัญชี ระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
พ.ศ.2561 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
พ.ศ.2562
-เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
-เปิดสอนระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาวิชาปิโตรเคมี, สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน, สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล
-ยุบสาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ ระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
พ.ศ.2563
-เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-เปิดสอนระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ยุบสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขางานธุรกิจดอกไม้และงานประดิษฐ์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
-ปรับหลักสูตรจากสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็น สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
พ.ศ.2565
-ยุบสาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์ สาขางานการจัดการงานดอกไม้และงานประดิษฐ์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
-เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
พ.ศ.2566 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์
พ.ศ.2567
-เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
-ปรับหลักสูตรจากสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็น สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

สภาพชุมชน

          สภาพเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพราะมีความงามของธรรมชาติ เป็นแหล่งผลิตอาหารทะเล เป็นแหล่งปลูกผลไม้เมืองร้อนที่มีคุณภาพ และเป็นที่ตั้งของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจแห่งใหม่ของประเทศ
          วิทยาลัยเทคนิคระยอง ตั้งอยู่ใกล้สถานที่ราชการ คือ โรงเรียนประจำจังหวัด ที่ว่าการอำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสำนักงานที่ดินจังหวัด ชุมชนสัมฤทธิ์ ชุมชนมุสลิมปากคลอง ชุมชนทางไผ่ มีอาชีพค้าขายขนาดเล็ก รับจ้าง และทำสวนมะม่วง พุทรา ประมง แพปลา สภาพเศรษฐกิจปานกลาง ชุมชนมีความสัมพันธ์กับวิทยาลัยค่อนข้างดี และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา

ปรัชญาวิทยาลัย

สามัคคี เรียนดี วินัยเด่น เน้นคุณธรรม

วิสัยทัศน์ (Vision)

มุ่งผลิตและพัฒนา
กำลังคนอาชีวศึกษา
ให้มีสมรรถนะสูงสู่สากล
ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี
เพื่อการพัฒนาประเทศ

พันธกิจ (Mission)

1. พัฒนาบริหารการจัดการอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานโดยการกระจายอำนาจด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0
2. พัฒนาผู้เรียน และกำลังคน ด้านวิชาชีพในท้องถิ่นให้มีความรู้ และทักษะทางวิชาชีพในทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านวิชาชีพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาและชุมชนให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาของท้องถิ่นรองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
4. ส่งเสริม สนับสนุน การจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรม
5. สร้างเครือข่ายความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา
6. ส่งเสริม/พัฒนา ครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ มั่นคง และก้าวหน้าในวิชาชีพ

เอกลักษณ์

มุ่งมั่นพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพ และบริการสังคม

อัตลักษณ์

เก่งคิด เก่งทำ กิจกรรมเด่น เน้นบริการ